บทความประชาสัมพันธ์

เทคโนโลยี 5G กับผลประโยชน์ด้านเศรษฐกิจของประเทศไทย

เทคโนโลยี 5G กับผลประโยชน์ด้านเศรษฐกิจของประเทศไทย :

Smart Contract และผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจต่ออุตสาหกรรมไทย

 

     เทคโนโลยี 5G จะไม่เข้ามาแทนที่ 3G และ 4G ทั้งหมด แต่ด้วยประสิทธิภาพที่สูงกว่าทั้งด้านของความสามารถในการรองรับข้อมูลและความรวดเร็วในการรับ-ส่งข้อมูล ทำให้ 5G จะเข้ามาเป็นฐานราก (Platform) ส าหรับองค์ประกอบสำคัญ ได้แก่ Enhanced Mobile Broadband (eMBB), Ultra-Reliable and Low Latency Communications (uRLLC) และ Massive Machine Type Communications (mMTC)1 รายละเอียดดังปรากฏในส่วนที่ 1 ของบทความ เนื่องจาก 5G สนับสนุนการรองรับงานที่หลากหลายและการเชื่อมต่ออุปกรณ์จำนวนมหาศาล อาทิ IoT จึงเชื่อว่า 5G จะก่อให้เกิดผลกระทบเชิงคุณภาพโดยเปลี่ยนแปลงระบบ Ecosystem ผ่านการเปลี่ยนแปลงกฎกติกาต่างๆ ที่ใช้เป็นกรอบการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจตามทฤษฎี New Institutional Economics  และหนึ่งในปัจจัยส าคัญที่จะนำมาซึ่งความเปลี่ยนแปลงดังกล่าว คือ สัญญาอัจฉริยะ (Smart Contract) รายละเอียดดังที่แสดงไว้ในส่วนที่ 2

     ขณะที่ส่วนที่ 3 ของบทความกล่าวถึงผลการทบเชิงปริมาณในช่วง 2563-2578 (ค.ศ. 2020-2035) ซึ่งคำนวณจากผลงานวิจัยของสถาบัน IHS เป็นหลัก สำนักงาน กสทช. คาดว่าผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจจาก 5G ในประเทศไทยปี 2578 จะอยู่ที่2.3 ล้านล้านบาท โดยภาคอุตสาหกรรมการผลิต การค้าและการเงิน รวมถึงภาคโทรคมนาคมจะได้รับมูลค่าเพิ่มสูงสุด และด้วยสมมติฐานที่คาดว่า 1) ปีแรกๆ จะเป็นช่วงที่อุตสาหกรรมเน้นไปที่การลงทุนโครงข่ายและมูลค่าเพิ่มต่ำ เพราะอัตราการตอบรับ (Adoption Rate) และการใช้งานจริงยังต่ำอยู่ 2) ปีหลังๆ จะลดการลงทุนเพื่อจ่ายค่าบำรุงรักษาโครงข่ายขณะที่มูลค่าเพิ่มจะขึ้นสู่ขีดสุด สำนักงาน กสทช. คาดว่าเม็ดเงินลงทุนอาจสูงถึง 1.1 แสนล้านบาทในปี 2563 และลดต่ำลงจนถึงเพียง 1 หมื่นล้านบาทในปี 2578 ส่วนมูลค่าเพิ่มนั้นมีทิศทางสวนการลงทุน โดยเพิ่มขึ้นจากประมาณ 2 พันล้านบาท จนถึง 2.3 ล้านล้านบาท

อ่านบทความ PDF ===>

ขอบคุณบทความจาก : สำนักงาน กสทช.

 

เทคโนโลยี 5G กับผลประโยชน์ด้านเศรษฐกิจ

วิดเจ็ต

Our Visitor

0 9 3 0 8 6
Views Today : 1032
Views Yesterday : 973
Views Last 30 days : 11800
Total views : 489503