ประวัติหน่วย

กำเนิดกองทัพภาคที่ 2

HISTORY OF THE SECOND ARMY AREA

ความเดือดร้อนของชาวโคราช พ.ศ.๒๔๓๕

     สมัยนั้น เมืองนครราชสีมามีโจรผู้ร้ายชุกชุมมากจนเป็นที่หนักอกหนักใจของ พระพิเรนทรเทพ ซึ่งเป็นเจ้าเมืองในขณะนั้น จึงได้กราบบังคมทูลขอลาออกจากราชการ แต่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ระงับการลาออกไว้ก่อน และให้พระยาศรีสิงหเทพ(หัก ไกรฤกษ์) ซึ่งจัดราชการที่อุบลราชธานี ลงมาเป็นข้าหลวงช่วยราชการเมืองนครราชสีมาอีกแรงหนึ่ง ต่อมาราษฎรจำนวนมากได้ร้องทุกข์ถึงความเดือนร้อนต่างๆ อันเกิดจากพฤติกรรมของข้าราชการ พระยาศรีสิงหเทพ ได้สืบสวนตามคำร้องปรากฏว่า โจรผู้ร้ายเหล่านั้นเป็นบริวารของพระพิเรนทรเทพ เป็นส่วนใหญ่ เข้าทำนองว่าเจ้าเมืองเลี้ยงอันธพาลไว้ใช้สอยเพื่อประโยชน์ส่วนตน พระยาศรีสิงหเทพ จึงรวบรวมฎีการ้องทุกข์พร้อมผลการสอบสวนขึ้นกราบบังคมทูลให้ทรงทราบ

Troubles of korat citizens (A.D.1892)

There were a great number of robbers in Nakorn Ratchasima at that time. Pra Pirentarathep, the Governor, found it difficult to suppress those robbers, so he decided to quit the post and finally sent a letter of resignation to King Rama V. The King did not give permission. Instead, he appointed Praya Sri Singhathep who organized official matters in Ubon Ratchathani to party work in Nakorn Ratchasima.

Letter, the people of Korat complained  that officials’ performances caused them bad effects. Praya Sri Singhathep  investigated the cases and found that robbers were not others but the subordinates of Pra Pirentarathep. So he sent the result of his investigation to the King.

กำเนิดกองทหารรักษาเมือง นครราชสีมา

   เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทราบเรื่อง ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้ายาน้องยาเธอกรมหลวง สรรพสิทธิประสงค์ มาเป็นข้าหลวงใหญ่ต่างพระเนตรพระกรรณ เพื่อสอบสวนหาข้อเท็จจริงและสะสางมูลคดีที่เกิดขึ้น การเสด็จมาครั้งนี้มีทหารติดตามมาด้วย ๑ กองร้อย (มีกำลังประมาณ ๒๘ คน) ในการบังคับบัญชาของ ร.ท. ม.ร.ว.อ่ำ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา หรือเรียกสมัยนั้นว่า “กัปตัน อ่ำ” การชำระสะสางคดีและ การปราบปราบโจรผู้ร้าย ใช้เวลาดำเนินการอยู่นานประมาณ ๒ เดือน ก็สงบเรียบร้อย พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ จึงเสด็จ ฯ กลับ แต่กองทหารที่ติดตามมาด้วยยังอยู่คงรักษาเมือง นครราชสีมาต่อไป และเรียกกองทหารนั้นว่า “กองทหารรักษาเมืองนครราชสีมา” และเป็นหน่วยแรกที่มีการฝึกหัดใช้ปืนยาวแบบสลิสเตอร์ (พร้อมดาบปลายปืน) ซึ่งทางราชการจัดหาให้ในสมัยนั้น

The Origination of troops in Nakorn Ratchasima

   King Rama V. knowing all matters concerning about robberies, appointed his brother, Prince Sapasitprasong, the Governor to reinvestigate the robberies. Together with him, there was a company of 28 soldiers under the command of Lieutenant Captain Um Palakawong. It took him two months to finish the matters. When he returned to Bangkok, the troops were still in Korat in order to help keep peace.

การขยายหน่วยทหารในนครราชสีมา

     ในปีเดียวกัน (พ.ศ.๒๔๓๗) ฝรั่งเศสเข้ามามีอิทธิพลในอินโดจีน และเกิดการกระทบกระทั่งกับ ประเทศไทยหลายครั้ง ถึงกับใช้เรือรบเข้ามาในอ่าวไทย รัฐบาลไทยเห็นว่าอาจเกิดปัญหาการรบกับฝรั่งเศส ขึ้นเมื่อใดก็ได้ จึงได้เพิ่มเติมกำลังทหารขึ้นตามลำดับ เฉพาะเมืองนครราชสีมา  ได้เพิ่มเติมกำลังทหารจาก กองร้อย (กองทหารเมืองนครราชสีมา) เป็นกองพัน และเพิ่มเติมกำลังทหารม้า,ทหารปืนใหญ่ ขึ้นอีกด้วย และได้ส่ง พ.ท.หลวงศรยุทธโยธาหาร (กุดั่น เปรมรัตน) มาเป็นผู้บังคับบัญชา ได้จัดการวางรากฐานที่ตั้ง กองทหารเป็นการถาวร  ดังจะเห็นได้ว่ามีการตัดถนนระหว่างที่ตั้งกองทหารกับวัดสมบูรณ์ และให้ชื่อว่า “ถนนกุดั่น” ซึ่งใช้เรียกกันมาจนถึงปัจจุบัน

     ในปี พ.ศ.๒๔๓๘ ได้จัดตั้งขึ้นเป็นกรม เรียกว่า “กรมทหารราบที่ ๕” มีกำลัง ๘ กองร้อย และ ให้พ.ต.หม่อมเจ้าศรีใสเฉลิมศักดิ์ หัสดินทร์ ณ อยุธยา เป็นผู้บังคับการกรม และต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๓๙ ได้แยกกำลังไปตั้งอยู่ที่ ชัยภูมิ ๑ กองร้อย บุรีรัมย์ ๑ กองร้อย

The Expansion of Army Unit in Korat (A.D.1894)

Realizing that French influence over the Indo – Chinese peninsula might someday lead to political conflict and that the war might break out at any time, the Thai government decided to increase the number of soldiers in a company and changed it to battalion companies of cavalry and artillery were included. Lieutenant Colonel Luang Sorayut Yotaharn was the first commander of the battalion. Not long after that it was upgraded to the Fifth Royal Infantry Regiment.

พระราชทานธงชัยเฉลิมพล พ.ศ.๒๔๔๓

     พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จตรวจเยี่ยมกองทหารเมื่อ ๒๒ ธันวาคม ๒๔๔๓ ก็ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานธงชัยเฉลิมพล ให้กรมทหารราบที่ ๕ โดย พ.ต.มจ.ศรีใสเฉลิมศักดิ์ฯ เป็นผู้บังคับการกรม เป็นผู้รับพระราชทานและทรงพระราชทานพระบรมราโชวาทแก่ทหารกรมทหารราบที่ ๕ ดังนี้.-

            “เรามอบธงชัยนี้ให้กรมทหารราบที่ ๕ เพื่อให้มีความกล้าหาญ เป็นเกียรติและป้องกันอันตรายในสมรภูมิ ให้กับความดี ความเจริญของกรมทหารราบที่ ๕ อันสืบเน่าองมาจากมณฑลนครราชสีมาได้เคยเป็นทหารมาช้านาน เกิดศึกสงครามแห่งใด ก็ได้ใช้มณฑลนี้เป็นทหาร ในที่สุดสตรีก็ยังมีน้ำใจกล้าหาญปรากฏในพงศาวดาร บัดนี้เราได้เห็นนายทหาร นายสิบ พลทหาร ในกรมทหารราบที่ ๕ มีกิริยาท่าทางองอาจ โดยข้อบังคับและฝึกหัดเรียบร้อยเจริญขึ้นตามลำดับ เรามีความยินดีเป็นอันมากที่สมกับบ้านเมืองที่เคยเป็นทหารมาแต่พระราชพงศาวดารโบราณ ฉะนั้นเราขอให้พรแก่ กรมทหารราบที่ ๕ ให้มีความเจริญ มั่นคงขึ้นตามลำดับเป็นสง่าแก่บ้านเมืองสืบไป”

The Presentation of the Flag of Victory

King Rama V went for a visit to the Fifth Royal Infantry Regiment on December 22, 1900. On that occasion, He gave the Regiment the Flag of Victory and addressed them brave and courteous soldiers.

กองทหารราชสีมา พ.ศ.๒๔๔๔

 พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ซึ่งเป็นข้าหลวงต่างพระองค์อยู่ที่อุบลราชธานี มีทหารรักษาพระองค์ ๑ กองพัน ประมาณ ๔๐๐ คน ทำการปราบปรามผู้ก่อความไม่สงบ แต่ไม่สามารถ ปราบปรามได้อย่างเด็ดขาด จึงมีพระโทรเลขมายัง พ.ท.ม.จ.ศรีใสเฉลิมศักดิ์ฯ ผู้บังคับการทหารราบที่ ๕ ขอให้จัดกำลังทหารไปช่วยปราบปรามเหตุการณ์ครั้งนั้น กรมทหารราบที่ ๕ ได้ระดมพลจัดเป็น ๖ กองพัน มีกำลังประมาณ ๗๐๐ คน ไปช่วยปราบปรามตามพระประสงค์ การปราบปรามสำเร็จราบคาบลงได้อย่าง ง่ายดาย จึงเคลื่อนย้ายกลับที่ตั้งปกติในปี พ.ศ. ๒๔๔๕ ต่อมาได้ขยายหน่วยอย่างรีบเร่ง โดยจัดตั้ง เป็น “กองทหารราชสีมา” ประกอบด้วย กรมทหารราบที่ ๕, กรมทหารราบที่ ๑๓ (กรมละ ๔ กองพัน) จัดเพิ่ม เติมขึ้นอีกคือ กรมทหารปืนใหญ่ ที่ ๓, กรมทหารม้าที่๓ และกำลังทหารราบ ๑ กองร้อย และได้ พ.อ.ม.จ.ศรีใสเฉลิมศักดิ์ฯ เป็นผู้บังคับบัญชากองทหารราชสีมา ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๔๖ ได้เปลี่ยนเป็น กองพลที่ ๕ และได้ไปอยู่ที่ตั้งใหม่ (ค่ายสุรนารีในปัจจุบัน) โดยมี พ.ท.ม.จ.บวรเดช (พระองค์เจ้าบวรเดช) เป็นผู้บัญชากองพล

Ratchasima Army Corps (A.D.1901)

After the suppression of trouble makers in Ubon, Ratchasima Force was organized. The army corp consisted of the Fifth Infantry Regiment, Mounted Cavalry Regiment, and a Company of Scouts. IN 1902 Ratchasima Army Corps became the Fifth Army Division and its location was removed to the place which is today called Kai Suranaree. Lieutenant Colonel Serene Highness Boworndej was the first Commander.

การจัดตั้งกองทัพ พ.ศ.๒๔๔๕

     ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖) ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มี การจัดระเบียบ กองทัพบกเสียใหม่ คือ ให้มี ๓ กองทัพ โดยมีหน่วยขึ้นตรงระดับกองพล กองทัพละ ๓ กองพล ดังนี้.

  • กองทัพที่ ๑ ตั้งอยู่ที่ กรุงเทพฯ ควบคุมบังคับบัญชา กองพลที่ ๑, ๒, ๓
  • กองทัพที่ ๒ ตั้งอยู่ที่ พิษณุโลก ควบคุมบังคับบัญชา กองพลที่ ๖, ๗, ๘
  • กองทัพที่ ๓ ตั้งอยู่ที่ นครราชสีมา ควบคุมบังคับบัญชา กองพลที่ ๕, ๙, ๑๐

     สำหรับกองทัพที่ ๓ มี พล.ต.พระยาพิชัยสงคราม เป็นแม่ทัพ โดยมีกองพลที่ ๕ ซึ่งมีที่ตั้งปกติอยู่ ที่เดิม (ค่ายสุรนารี) รวมกับกองบัญชาการกองทัพ สำหรับกองพลที่ ๙ ตั้งอยู่ที่ฉะเชิงเทรา และกองพลที่ ๑๐ ตั้งอยู่ที่ ร้อยเอ็ด ต่อมาในปีเดียวกันนั้น สมเด็จพระศรีพัชรินทราพระบรมราชินีนาถ (ซึ่งกองพันทหารม้าที่ ๖ เป็นหน่วยในพระองค์ท่าน ประดับพระนามาภิไธยย่อของพระองค์ (สผ.)อยู่จนถึงทุกวันนี้) เสด็จประพาสภาค อีสานทรงเยี่ยมค่ายทหาร และทรงทอดพระเนตรกิจการของทหาร เช่น การสร้างทางรถไฟ ซึ่งการนั้นทหารช่าง ได้สร้างรางรถไฟถวายทอดพระเนตร และยังได้ทรงทอดพระเนตรการซ้อมรบของหน่วยทหารภายในค่าย บริเวณหัวหนองบัวด้วย นอกจากนี้ ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ มาเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดสโมสร นายทหาร และพระราชทานนามสโมสรว่า “สโมสรร่วมเริงไชย” ซึ่งได้ใช้มาจนถึงทุกวันนี้

The Establishment of Army (A.D.1911)

In the reign of King Rama VI, new army organizations were arranged, there were 3 army, each army army with its commanding line consisted of 3 divisions.

The First Army, situated in Bangkok directed and commanded Divisions 1, 2, and 3.

The Second Army, situated in Pitsanuloke directed and commaned Divisions 6, 7 and 8.

The Third Army situated in Nakhorn Ratchasima directed and commaned Divisions 5, 9 and 10

Major General Praya Pichaisangkram was the first Chief Commander. The Central Headquarters of Division 5 was in Korat, Division 9 in Chachoengsao, Divission 11 in Roi-et.

ยุบเลิกกองทัพที่นครราชสีมา พ.ศ.๒๔๗๐

 ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๗๐ มีการจัดระเบียบกองทัพบกใหม่ โดยให้มีกองทัพเพียง ๒ กองทัพ คือ กองทัพภาคที่ ๑ และ ที่ ๒ ยุบกองพลต่าง ๆ ให้เหลือเพียง ๔ กองพล หรือ ๘ กรมทหารราบ และให้ กองทัพที่ ๑ ตั้งอยู่ที่กรุงเทพ ฯ ดังเดิม สำหรับกองทัพที่ ๒ นั้น ตั้งกองบัญชาการอยู่ที่พระนครศรีอยุธยา โดยมี พล.ท.พระยาสีหราชเดโชชัย (สวาสดิ์ บุนนาค) เดิมแม่ทัพกองทัพที่ ๓ มาเป็น แม่ทัพกองทัพที่ ๒ ควบ คุมบังคับบัญชากองพลที่ ๕ ที่นครราชสีมา และกองพลที่ ๔ ซึ่งตั้งอยู่ที่นครสวรรค์ สำหรับกองพลที่ ๕ มี กรมทหารราบเป็นหน่วยขึ้นตรง ๒ กรม คือ กรมทหารราบที่ ๕ อยู่ที่เดียวกับกองบัญชาการกองพล และ กรมทหารราบที่ ๑๕ มีที่ตั้งปกติอยู่ที่จังหวัดร้อยเอ็ด แต่ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.๒๔๗๕ ได้จัดระบบราชการใหม่ ยุบเลิกกองทัพ กองพล และ กรม ทั้งหมด คงมีแต่มณฑลทหารบก และ กองพันทหารราบ ๔ กองพัน เท่านั้น

The Dissolution of Army in Nakhornratchasima (A.D.1927)

In 1927, new army organizations were arranged, there were only two army, namely, the First and the Second Army. The former army divisions were reduced to 4 Divisions. Army Division 1 was situated in Bangkok, Army Division 4 and 5 were in Nakhorn Ratchasima, and the Fifteenth Infantry Regiment was in Roi-et.

After the 1932 revolution, new official organizations of the army were concelled. There were only Regional Army and the Fifth Infantry Battalion.

กองทัพอีสานกับปัญหา “อินโดจีน” และ “มหาเอเชียบูรพา”

 ภายหลังจากการเจรจากรณีพิพาท ในปี ๒๔๘๒ กับฝรั่งเศส เกี่ยวกับปัญหาอินโดจีน ไม่เป็นที่ ตกลงกัน จึงเกิดการใช้กำลังทหารขึ้น จึงได้จัดกำลังเป็นรูป กองทัพ และ กองพล ขึ้นใหม่ คือ กองทัพ บูรพา และ กองทัพอีสาน สำหรับกองทัพอีสาน ประกอบด้วยกองพล ๓ กองพล ดังนี้ กองพลอุดร กองพล สุรินทร์ และ กองพลอุบล ภายหลังยุติสงคราม กองทัพอีสานก็แปรสภาพเป็น กองพลที่ ๓ ต่อมาปี ๒๔๘๔ ได้เข้าร่วมสงครามมหาเอเซียบูรพาในสังกัดกองทัพพายัพ ครั้งนั้นมีหน่วยขึ้นตรง กองพลที่ ๓ จำนวน ๓ กรมทหารราบ คือ กรมทหารราบที่ ๑ นครราชสีมา,กรมทหารราบที่ ๘ สุรินทร์ และ กรมทหาร ราบที่ ๙ อุบลราชธานี สิ้นสุดสงคราม พ.ศ.๒๔๘๙ กองพลที่ ๓ จึงกลับเข้าที่ตั้งปกติ

The Northeast Army with Indo Chainese Problem and East Asia War

The negotiation of the Thai-French conflict on the Indo Chainese problem could not be reconciled. Military forces were in use between the two countries. Army organizations were established, namely, East Army and the Northeast Army. For the Northeast Army, there were Divisions, namely, Udorn Division, Surin Division and Ubon Division. After the war, the Northeast Army was changed to the Third Division.

กำเนิดกองทัพที่ ๒ (กองทัพภาคที่ ๒)

     ในปี พ.ศ.๒๔๙๑ กองทัพบกได้จัดตั้งกองทัพที่ ๒ ขึ้นใหม่ ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการจัดระเบียบราชการกองทัพบกในกระทรวงกลาโหม พ.ศ.๒๔๙๑ ลงวันที่ ๓ กันยายน ๒๔๙๑  โดยมีที่ตั้งอยู่ที่ค่ายหัวหนองบัว จังหวัดนครราชสีมา มีกองพลที่ ๓ เป็นหน่วยขึ้นตรงกองทัพ หลังจากนั้นมีการเปลี่ยนแปลงการจัดใหม่อีกหลายครั้ง เช่น

  • ปี พ.ศ.๒๔๙๓ จัดตั้งกองพลที่ ๖ เพิ่มขึ้นที่จังหวัดอุบลราชธานี มีหน่วยขึ้นตรง ๒ กรม คือ กรม ร.๖ และ กรม ร.๑๖ ส่วนกองพลที่ ๓ คงมี กรม ร.๓ และ กรม ร.๑๓ เป็นหน่วยขึ้นตรง
  • ปี พ.ศ.๒๔๙๙ ให้แยกส่วนกำลังรบกับส่วนภูมิภาคออกจากกัน
  • ปี พ.ศ.๒๕๐๐ มีคำสั่งกองทัพบก ด่วนมาก ที่ ๓๕๘/๒๕๐๐ ลง ๑๘ ก.พ.๒๕๐๐ ให้ยุบกองทัพที่ ๒ และกองพลที่ ๖ แปรสภาพเป็นภาคทหารบกที่ ๒ ตามพระราชกฤษฎีกา การจัดระเบียบราชการ กองทัพบกในกระทรวง กลาโหม พ.ศ.๒๔๙๙ ซึ่งกำหนดไว้ว่าภาคทหารบก มีอำนาจบังคับบัญชามณฑลทหารบกโดยตรงกับมีหน้าที่ปกครองและบริการหน่วยรบ ส่วนกำลังรบ เช่น กองพลที่ ๓ เป็นหน่วยขึ้นตรงกับกองทัพบก แต่ให้ฝากการบังคับบัญชากับภาคทหารบกที่ ๒

     ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๐๑ กองทัพบกได้มีคำสั่ง ที่ ๑๓๖/๙๑๒๒  ลง ๒๘ ม.ค.๒๕๐๑ ให้แปรสภาพ ภาคทหารบกที่ ๒ เป็น กองทัพภาคที่ ๒ มีอำนาจปกครองบังคับบัญชาหน่วยทหารทั้งสิ้นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือทั้งที่เป็นส่วนกำลังรบและส่วนภูมิภาค(ตามพระราชกฤษฎีกา) ดังนั้น กองพลที่ ๓ จึงกลับมาเป็นหน่วยขึ้นตรงกองทัพภาคที่ ๒ ตั้งแต่นั้นมา

     ดังนั้น กองทัพภาคที่ ๒ จึงถือเอา วันที่ ๔ กันยายนของทุกปี  เป็นวันคล้ายวันสถาปนา กองทัพภาคที่ 2 (ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการจัดระเบียบราชการกองทัพบกในกระทรวงกลาโหม ลง ๓ ก.ย.๙๑ มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันถัดไปหลังจากประกาศใช้) ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

The Establishment of the Second Army

In 1948 The Royal Thai Army established the Second Army under the Royal Decree of the Organization of the Royal Thai Army, Ministry of Defense. The Headquarter and forts were at Huanongbua, Nakornratchasima. The Third Army Divsion was under its command.

The Second Army has its ruling power and command all military units in the Northeast part of Thailand. According to the Royal Decree signed on September 3, 1948, the Second Army accepted September 4 every year as its Estalishment of the Second Army Day.